การประชุม Global Maritime Cooperation and Ocean Governance ประจำปี 2564 ซึ่งจัดโดย National Institute for South China Studies ประเทศจีนภายใต้หัวข้อ "การวิจัยแนวหน้าว่าด้วยกฎหมายทะเลระหว่างประเทศระดับโลก", "หลักการกำกับดูแลมหาสมุทรในอาร์กติก", "ความร่วมมือระหว่างประเทศว่าด้วยความมั่นคงทางทะเลและความปลอดภัยภายใต้อิทธิพลของโควิด-19" และ "เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อมหาสมุทรและการพัฒนามหาสมุทรที่ยั่งยืน" ได้รับเกียรติจากวิทยากรมากมายที่มาร่วมแบ่งปันมุมมองหลากหลายเกี่ยวกับการวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลระหว่างประเทศ (UNCLOS) รวมถึงบทบาทของ UNCLOS ในการเจรจา BBNJ และความสำคัญของ UNCLOS ในยุค Anthropocene ต่อมาได้มีการขยายการอภิปรายสู่หัวข้อการเข้าสู่ดินแดนระหว่างภารกิจการค้นหาและกู้ภัย, ความพยายามระดับภูมิภาคในการต่อสู้กับมลพิษจากพลาสติก และสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศของหน่วยยามฝั่งภายใต้การแนะนำของ UNCLOS ตลอดจนเครื่องมือทางกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่นำมาใช้อำนวยความสะดวกในการดำเนินการและการประสานงานเกี่ยวกับกฎหมาย UNCLOS ที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น

การประชุมครั้งนี้ยังมีการกล่าวถึงกลไกและความร่วมมือระหว่างประเทศในแถบอาร์กติกในระดับต่าง ๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมและการมีอยู่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแถบอาร์กติก ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในนามกิจการอาร์กติก ประกอบด้วยประเทศจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี โดยผู้มีบทบาทสำคัญ ๆ ในแถบอาร์กติกจะร่วมมือกันต่อไปเพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาค และแก้ไขข้อขัดแย้งก่อนที่จะเกิดขึ้น ขณะที่โอกาสต่าง ๆ ในแถบอาร์กติกนั้นเติบโตแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านความมั่นคงและความปลอดภัยทางทะเลภายใต้อิทธิพลของโควิด-19 ได้รับความสนใจอย่างมากและมีการหารือกันในประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง ความท้าทายสำคัญที่ลูกเรือกว่า 1.9 ล้านคนทั่วโลกต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการเปลี่ยนผลัดลูกเรือ หรือการไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการฉีดวัคซีน ก็ล้วนแต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือระดับโลกเพิ่มเติมในกลุ่มองค์กรระหว่างประเทศและประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลและความปลอดภัยทางทะเลโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในภูมิภาคนี้ก็ยังคงแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อมหาสมุทรเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีการยกข้อเสนอแนะที่สร้างแรงบันดาลใจจากการวิจัยภาคสนามที่แข็งแกร่งและประสบการณ์ขั้นสูงในเขต Great Bay Area (GBA) รัฐหมู่เกาะและประเทศในภูมิภาค ไห่หนานซึ่งเป็นท่าเรือการค้าเสรีแห่งเดียวของจีนและตั้งอยู่ติดกับทะเลจีนใต้ มีความยินดีที่ได้มีส่วนในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค และเชื่อมโยงโลกมากขึ้นด้วยการขับเคลื่อนการพัฒนามหาสมุทรที่ยั่งยืน

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1685856/image.jpg