หลังจากว่างเว้นการเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับตำบลมาประมาณ 8 ปีคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต.) และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล(ส.อบต.) ของอบต. 76 จังหวัดทั่วประเทศ 5,300 แห่ง พร้อมกันในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องแถลงข่าว กกต. ศูนย์ราชการฯแจ้งวัฒนะ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกกต. นางสาวสุรณี ผลทวี ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง กกต.นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ ผู้อำนวยการ อปท.นิวส์โพล รศ.ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการและผู้แทนหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 11 (พตส.11) ได้ร่วมแถลงข่าวผลการสำรวจการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งอบต. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการรณรงค์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก่อนจะถึงวันเลือกตั้งในปลายเดือนนี้
รศ.ดร.ธนสุวิทย์ เปิดเผยว่าได้ทำการสำรวจภายใต้หัวข้อ “ถามใจคนท้องถิ่นใช้สิทธิเลือกตั้ง อบต.”ระหว่างวันที่ 19-25 ตุลาคม 2564 โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 5 ภาคๆละ 3 จังหวัดจากข้อมูลผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งอบต.ครั้งหลังสุดดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ลำปาง กำแพงเพชรภาคกลางและปริมณฑล จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการภาคกลางและตะวันออกจังหวัดสระบุรี ลพบุรี ชลบุรีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดมหาสารคามยโสธรอุดรธานีและภาคใต้ จังหวัดชุมพร สงขลา ประจวบคีรีขันธ์รวม 15 จังหวัดๆละ 150 ราย รวมเป้าหมายขั้นต่ำ 2,250 รายแต่ทีมงานได้เก็บข้อมูลทั้งสิ้น 2,756 คน
จากการรวบรวมข้อมูลในแบบสอบถามทั้งหมดแล้วสามารถสรุปและอภิปรายผลได้ดังต่อไปนี้คือ ด้านภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 67 เพศชายร้อยละ 33กลุ่มใหญ่สุดของผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 36-45 ปี คิดเป็นร้อยละ 27รองลงมาอายุ 26-35ปี คิดเป็นร้อยละ 23ถัดมาอายุ 46-55 ปี คิดเป็นร้อยละ21กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่อายุ 18-25 ปีที่มีสิทธิเลือกตั้ง อบต.ครั้งแรก คิดเป็นร้อยละ 17กลุ่มอายุ 56-65 ปี คิดเป็นร้อยละ 10 และกลุ่มผู้สูงวัย อายุ 66 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 2
ด้านการศึกษา ส่วนใหญ่ร้อยละ 38 จบปริญญาตรีรองลงมาร้อยละ 26 จบมัธยมศึกษาและปวช.ร้อยละ 19 จบปวส.และอนุปริญญาร้อยละ 14 จบชั้นประถมศึกษาด้านอาชีพการงานส่วนใหญ่ร้อยละ 26 รับจ้างร้อยละ 20 ค้าขายร้อยละ 17 เป็นเกษตรกรร้อยละ 15 เป็นพนักงานภาคเอกชน ร้อยละ 11 ยังเป็นนักศึกษามีว่างงานอยู่ร้อยละ 3
ภูมิหลังด้านรายได้ต่อเดือนร้อยละ 30 อยู่อยู่ในเกณฑ์ 5,000 – 10,000 บาทร้อยละ26 อยู่ในระดับ 10,001-15,000 บาทร้อยละ18 ไม่เกิน 5,000 บาทร้อยละ16 อยู่ในระดับ 15,001-20,000 บาท และร้อยละ 10 มีรายได้ 20,001 บาทขึ้นไป โดยร้อยละ 54 ของผู้ตอบแบบสอบถามสมรสแล้วร้อยละ 42 โสด ที่เหลือ ร้อยละ 4 หย่าร้างหรือเป็นหม้าย
จากกลุ่มตัวอย่าง 2,756 คนน่ายินดีที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 86 ทราบแล้วว่าจะมีการเลือกตั้ง อบต.วันไหนมีเพียงร้อยละ 14 ที่บอกว่าไม่ทราบ
ในการรับรู้ข่าวสารการเลือกตั้ง อบต.ดังกล่าว ส่วนใหญ่ทราบจากสื่อสังคมออนไลน์รองลงมาคือป้ายประชาสัมพันธ์เชิญชวนไปใช้สิทธิเลือกตั้งอันดับ 3 คือรู้จากผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่อบต.ซึ่งใกล้เคียงกับที่รู้จักรถแห่ประชาสัมพันธ์ของผู้สมัคร ขณะที่ตัวผู้สมัครก็มีส่วนการในการสร้างการรับรู้เช่นเดียวกับหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านโดยมีข้อสังเกตุว่าการรับรู้จากสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ เคเบิ้ลทีวี แม้แต่โทรทัศน์ อยู่ในระดับต่ำกว่ามาก
เมื่อถามว่าการเลือกตั้ง อบต.ทำให้นึกถึงเรื่องใดมากที่สุดร้อยละ50 ตอบว่า การพัฒนาท้องถิ่นรองลงมาร้อยละ 26 นึกถึงประชาธิปไตยและร้อยละ 25 นึกถึงสิทธิของคนในท้องถิ่น
ถามว่า อบต.มีผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของท่านหรือไม่ร้อยละ 58 ตอบว่ามีผลร้อยละ26 ตอบว่าไม่แน่ใจ และร้อยละ16 ตอบว่าไม่มีผล
ถามว่า ท่านเชื่อว่าการเลือกตั้งอบต.ครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความสุจริต ยุติธรรม โปร่งใหรือไม่ร้อยละ 50 ตอบว่าไม่แน่ใจร้อยละ 31 เชื่อมั่นร้อยละ 19 ตอบว่าไม่เชื่อมั่น
ต่อคำถามสำคัญว่าท่านจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบต.ในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้หรือไม่ส่วนใหญ่ร้อยละ 53 ตอบว่าไปแน่นอนรองลงมาร้อยละ 27 คิดว่าจะไป ซึ่งรวมสองกลุ่มนี้สูงถึงร้อยละ 80 ที่เหลือร้อยละ 17 ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 3 บอกว่าไม่ไป
ปัจจัยที่จะมีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบต.ส่วนใหญ่ร้อยละ 51 ระบุว่าโควิด-19รองลงมาร้อยละ 17 ตอบว่าความสะดวกในการเดินทางร้อยละ 12 มีสองกลุ่มคือฝนฟ้าอากาศ และผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่เหลือร้อยละ 8 คือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ถามว่าท่านคิดว่าปัจจัยใดจะส่งผลต่อการเลือกตั้ง อบต.ครั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 34 ตอบว่านโยบายการหาเสียงรองลงมาร้อยละ 27 คือคุณสมบัตรของผู้สมัครร้อยละ 20 คือวิธีการและกลยุทธ์ในการหาเสียงร้อยละ 12 ระบุว่าอิทธิพลของนักการเมือง และร้อยละ 7 บอกว่าเงินที่ใช้หาเสียง
เมื่อถามว่าท่านเคยพบปะพูดคุยกับอดีตนายก อบต หรือสมาชิกอบต.เพื่อเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาท้องถิ่นไหมร้อยละ 61 บอกว่าไม่เคยร้อยละ 39 บอกว่าเคย
สองข้อสุดท้ายเป็นส่วนที่ กกต.เจาะจงอยากทราบโดยถามว่าทราบหรือไม่ว่าสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากแอปพลิเคชั่น Smart Vote ร้อยละ 67 ตอบว่าไม่ทราบร้อยละ 33 ตอบว่าทราบส่วนแอปพลิเคชั่น “ตาสับปะรด” ที่สามารถแจ้งข้อมูลการทุจริตผิดกฎหมายเลือกตั้งร้อยละ 62 ตอบว่าไม่ทราบร้อยละ 38 ตอบว่าทราบ
รศ.ดร.ธนสุวิทย์ ได้ยกตัวอย่างการสำรวจที่จังหวัดสมุทรสาครซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถาม 193 คนว่าออกมาในทิศทางเดียวกันกับภาพรวมทั้งประเทศคือร้อยละ 64 ทราบว่ามีการเลือกตั้ง อบต.จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งแน่นอนร้อยละ 43 คิดว่าจะไปร้อยละ 29โดยปัจจัยที่จะมีผลต่อการไปใช้สิทธิคือ โควิด-19 ร้อยละ 33 ความสะดวกในการเดินทางร้อยละ 27 และฝนฟ้าอากาศ ร้อยละ 18