ราคาที่จับต้องได้และการหาซื้อได้คือปัญหาสำคัญที่สุดต่อการบริโภคที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืน

ผลสำรวจการวิจัยผู้บริโภคทั่วโลกฉบับใหม่ที่จัดทำโดย GlobeScan ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์และข้อมูลเชิงลึก ร่วมกับEAT ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรด้านการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารโดยใช้วิทยาศาสตร์ เปิดเผยว่า มีประชาชนเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของประชาชนทั่วโลก (53%) ที่รู้สึกว่าการซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพและอาหารที่ยั่งยืนเป็นเรื่องง่าย อย่างไรก็ตาม อุปสรรคใหญ่ที่สุดสำหรับผู้ที่รู้สึกว่าการซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพและอาหารที่ยั่งยืนเป็นเรื่องยากคือราคา (48%) และการมีวางจำหน่าย (36%) โดย 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า ไม่ทราบว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพและอาหารที่ยั่งยืนคืออะไร

การค้นพบที่เปิดเผยในรายงานใหม่Grains of Truthนี้ สอบถามความเห็นจากผู้บริโภคกว่า 30,000 คนใน 31 ตลาดทั่วโลกเกี่ยวกับคำจำกัดความของอาหารที่ดีต่อสุขภาพและอาหารที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ผลสำรวจยังสอบถามผู้คนเกี่ยวกับปัญหาอื่น ๆ รวมถึงความกังวลที่สุดเกี่ยวกับการผลิตอาหาร และความลำบากที่เจอในการซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพและอาหารที่ยั่งยืน ตลอดจนคนที่ส่งผลกระทบทางบวกที่สุดในการสร้างระบบอาหารที่ดีต่อสุขภาพและอาหารที่ยั่งยืน การวิจัยนี้จัดทำโดยเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านระบบอาหารโลก (UN Food Systems Summit) ที่ซึ่ง EAT ได้นำ Action Track 2 ที่ให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคสู่รูปแบบที่ยั่งยืน

ขณะที่ผู้คนจำนวนมากยังมีปัญหากับการทำความเข้าใจว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพและอาหารที่ยั่งยืนคืออะไร แต่ก็ยังมีความเข้าใจว่าทั้ง 2 สิ่งนั้นต่างกัน คำอธิบายที่พูดกันมากที่สุดเกี่ยวกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพคือ มีคุณค่าทางโภชนาการ (47%), ออร์แกนิก (47%) และอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการ/ไม่ผ่านการปรุงแต่ง (44%) สำหรับอาหารที่ยั่งยืนนั้น คำอธิบาย 3 อันดับแรกได้แก่ ดีต่อสิ่งแวดล้อม (51%), ออร์แกนิก (42%) และมาจากในท้องถิ่น (34%)

คนแต่ละวัยต่างมีมุมมองเกี่ยวกับอาหารที่ยั่งยืนคล้ายคลึงกัน แต่กับอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้นต่างออกไป คนกลุ่ม Gen Z มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะอธิบายว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้นอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการ ขณะที่กลุ่ม Baby Boomers จะระบุว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้นคืออาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการ/ไม่ผ่านการปรุงแต่งและมาจากในท้องถิ่นมากที่สุด

เมื่อพิจารณาถึงปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับระบบอาหารแล้ว ปัญหาใหญ่ที่สุด 2 ของคือการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี (81%) และการใช้ขยะพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งและบรรจุภัณฑ์อาหาร (78%) นอกจาก 2 ปัญหานี้แล้ว ยังมีปัญหาอื่น ๆ อย่างปัญหาความหิวโหยและโรคอ้วน ซึ่งมี 76% ของผู้ตอบแบบสำรวจรู้สึกกังวลปัญหาทั้ง 2 ประการนี้ ความกังวลเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากข้อเท็จจริงที่ว่า 1 ใน 11 ประชากรโลกมีปัญหาหิวโหยเรื้อรัง และ 1 ใน 3 ของประชากรโลกมีน้ำหนักเกิน ขณะที่ปัญหาที่ผู้คนกังวลน้อยที่สุดคือการขนส่งอาหาร

น่าแปลกที่ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาแต่ละอย่างมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉลี่ยกลุ่ม Gen Z จะมีความกังวลน้อยที่สุด และกลุ่ม Baby Boomers จะมีความกังวลมากที่สุด ในส่วนของมุมมองแยกตามภูมิภาคนั้น ผู้บริโภคในลาตินอเมริกา, แอฟริกา และยุโรปใต้ แสดงความกังวลเกี่ยวกับระบบอาหารมากที่สุด

ผู้บริโภคเกือบครึ่งหนึ่ง (46%) เชื่อว่าการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเพื่อสร้างระบบอาหารที่ต่อดีสุขภาพและอาหารที่ยั่งยืนเป็นหน้าที่ของรัฐบาล กว่า 1 ใน 3 (37%) คิดว่าบริษัทอาหารและเครื่องดื่มคือส่วนสำคัญที่สุดที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง ขณะที่อีก 23% มองว่าประชาชนทั่วไปหรือตนเองมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในทางบวก และ 1 ใน 8 (15%) มองว่าคนหนุ่มสาวคือกลุ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลัง

ดร. Gunhild Stordalen ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร EAT กล่าวว่า "มีเรื่องที่ได้รับการส่งเสริมมากมายจากงานวิจัยนี้ การที่ผู้คนทั่วโลกเข้าใจถึงหน้าที่ที่สำคัญที่พวกเขาจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารผ่านรูปแบบการบริโภคของตนเอง แต่ก็ยังมีสิ่งที่ทั้งรัฐบาลและผู้ผลิตอาหารต้องทำอีกมาก คนกลุ่มนี้คือกลุ่มที่ผู้บริโภคมองว่ามีอำนาจและผลที่ตามมาที่พวกเขาจะฟัง และที่สำคัญ แม้ว่าผู้คนต้องการจะเปลี่ยนไปสู่วิถีการกินที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนมากกวาเดิม ปัจจุบันพวกเขาก็ยังไม่เชื่อว่าสามารถทำได้ เพราะในมุมมองพวกเขานั้น ราคาผลิตภัณฑ์ถ้าไม่สูงเกินไปก็หายาก นี่คือสิ่งที่ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ค้าปลีก และผู้ผลิตต้องแก้ไขและพัฒนา เพื่อที่เราสามารถทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนรูปแบบการบริโภคที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น"

Chris Coulter ซีอีโอของ GlobeScan กล่าวว่า "การวิจัยในเวลาที่เหมาะสมนี้ให้แนวทางสำหรับความคาดหวังของผู้บริโภคต่อระบบอาหารที่ยั่งยืน การแสดงให้เห็นความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมเป็นการกำหนดอาหารที่ยั่งยืนสำหรับผู้คนทั่วโลก และนั่นคือระดับความกังวลในระดับสูงมากสำหรับปัญหามากมายที่ส่งผลกระทบต่อระบบอาหาร ตั้งแต่สารกำจัดศัตรูพืชจนถึงพลาสติก ความอ้วน จนถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมองว่ารัฐบาลและภาคธุรกิจต้องเป็นผู้รับผิดชอบการนำเสนอระบบอาหารที่ยังยืน ทำให้การประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านระบบอาหารโลกเป็นโอกาสสำคัญที่จะแสดงถึงความคืบหน้าให้ผู้คนทั่วโลกเห็น"

การเผยแพร่งานวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านระบบอาหารโลกในวันที่ 23 กันยายน 2564

สามารถดาวน์โหลดสำเนารายงานฉบับเต็มได้ที่ https://eatforum.org/content/uploads/2021/09/EAT-GlobeScan-Grains-of-Truth-Report_September-2021-final.pdf