เขตบริหารพิเศษฮ่องกง - Media OutReach - 9 กันยายน 2564 - เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น บริษัทด้านโภชนาการชั้นนำของโลก เปิดเผยผลสำรวจด้านอาหารเช้าเพื่อสุขภาพในเอเชียแปซิฟิก หัวข้อ Asia Pacific Healthy Breakfast Survey ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งที่ 3 โดยเผยว่าความต้องการที่จะเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้นเป็นเหตุผลหลักที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าไปในทางบวก พบว่าผู้บริโภค 3 ใน 10 (30%) เริ่มรับประทานอาหารเช้าบ่อยขึ้นอันเนื่องมาจากสถานการณ์ปัจจุบัน และผู้ตอบแบบสอบถามครึ่งหนึ่งที่เริ่มรับประทานอาหารเช้ากล่าวว่า พวกเขารับประทานอาหารเช้า 6-7 วันต่อสัปดาห์บ่อยขึ้น
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนพฤติกรรมความชอบของกลุ่มประชากรต่าง ๆ ผลสำรวจอาหารเช้าเพื่อสุขภาพในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2564 ของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น จึงได้ทำการสำรวจผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปมากกว่า 5,500 คนใน 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 50% ในแต่ละประเทศเป็น Gen Z (อายุ 18-24 ปี) หรือ Millennials (อายุ 25- 40 ปี)
Stephen Conchie รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก ผู้บริโภคจำนวนมาก ทั้ง Gen Z และ Millennials จึงเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมที่ไม่รับประทานอาหารเช้ามาก่อน มาเป็นการทานอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากมีความตระหนักเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความจำเป็นในการรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งนับเป็นอีกก้าวที่นำไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางโภชนาการเชิงบวกและวางรากฐานแก่ผู้บริโภคในการมีชีวิตและสุขภาพที่ดี"
ความถี่ในการรับประทานอาหารเช้าที่สูงขึ้นเห็นได้ชัดเจนในหมู่ผู้บริโภค Gen Z และ Millennials
2 ใน 5 (37%) ของผู้บริโภค Gen Z และ Millennials ในเอเชียแปซิฟิกเริ่มรับประทานอาหารเช้าบ่อยขึ้นอันเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 30% ในทุกกลุ่มอายุ พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าที่เปลี่ยนไปในกลุ่ม Gen Z และ Millennials นั้นจะเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในหมู่ชาวไทย (65%) และฟิลิปปินส์ (53%) โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 40 ปีรับประทานอาหารเช้าบ่อยขึ้น
เมื่อถามถึงเหตุผลในการรับประทานอาหารเช้าบ่อยขึ้น เห็นได้ว่าสาเหตุอันดับต้น ๆ ของ Gen Z และ Millennials จะมีความคล้ายคลึงกับผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกโดยเฉลี่ย ซึ่งประกอบไปด้วย:
- ต้องการเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ( 65%)
- มีเวลาเตรียมอาหารเช้ามากขึ้นในตอนเช้า (48%)
- ต้องการใช้เวลาที่บ้านเพื่อเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ไปในทางบวก (41%)
นอกจากความถี่ในการรับประทานอาหารเช้าที่เพิ่มขึ้นแล้ว 4 ใน 10 ของกลุ่ม Gen Z และ Millennials (41%) ก็เริ่มรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพเช่นกัน จุดเปลี่ยนนี้แพร่หลายมากขึ้นในฟิลิปปินส์ (66%) อินโดนีเซีย (61%) และเวียดนาม (57%) การเปลี่ยนแปลงสำคัญในการรับประทานอาหารเช้าของ Gen Z และ Millennials ได้แก่:
- เพิ่มผักและผลไม้ในอาหารเช้ามากขึ้น (57%)
- เช็คให้แน่ใจว่าฉันรับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารสมดุล (54%)
- ดื่มน้ำมากขึ้นในมื้อเช้า (52%)
ความตระหนักที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของคุณค่าทางโภชนาการในหมู่ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก
การตระหนักว่าคุณค่าทางโภชนาการเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารเช้าเพื่อสุขภาพนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหมู่ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก เมื่อถามถึงปัจจัยที่ทำให้อาหารเช้าเป็นมื้อที่ดีต่อสุขภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกคุณค่าโภชนาการเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด (50%) ตามด้วยการเตรียมที่ง่ายและรวดเร็ว (16%) รสชาติ (14%) และความสะดวก (14%)
ผลสำรวจอาหารเช้าเพื่อสุขภาพในเอเชียแปซิฟิก ที่จัดทำขึ้นในปี 2562 โดยเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น พบว่า คุณค่าทางโภชนาการมีความสำคัญน้อยลงสำหรับผู้บริโภค รองลงมาจากรสชาติและความสะดวกสบาย
ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกเห็นคุณค่าในการบริโภคอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูง
เมื่อถามถึงประโยชน์ของการรับประทานอาหารเช้าของแต่ละคน ผู้ตอบแบบสอบถามให้เหตุผลหลักๆ ว่า ช่วยเพิ่มพลังงานในตอนเช้า (76%) กระตุ้นการเผาผลาญสำหรับวัน (49%) และช่วยให้มีสมาธิในการเรียนหรือทำงานดีขึ้น (49%)
นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในภูมิภาค (73%) ยังเห็นคุณค่าในการรับประทานอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูง โดยให้เหตุผลดังนี้ 67% บอกว่าอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูงช่วยให้พวกเขาได้รับพลังงานต่อเนื่องไปจนถึงของว่างหรืออาหารมื้อต่อไป 65% บอกว่าช่วยส่งเสริมสุขภาพของกล้ามเนื้อ และ 53% บอกว่าช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
ความไม่สะดวกสบายคืออุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคไม่รับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพ
ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (74%) เชื่อว่าการรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญ และตั้งใจที่จะรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพเมนูอื่น ๆ (85%) แต่คนส่วนน้อยยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการทำให้อาหารเช้าเพื่อสุขภาพเป็นกิจวัตรประจำวันหลักของพวกเขา
ในบรรดาผู้ที่ไม่ต้องการรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพ มีสาเหตุหลักจาก 27% เมนูอาหารเช้าเพื่อสุขภาพต่าง ๆ ใช้เวลานานเกินไปในการทำ 25% เมนูอาหารเช้าเพื่อสุขภาพต่าง ๆ ไม่สำคัญสำหรับพวกเขา และ 23% เมนูอาหารเช้าเพื่อสุขภาพต่าง ๆ มีราคาแพง เมื่อถามถึงความเต็มใจในการใช้จ่ายสำหรับอาหารเช้าเพื่อสุขภาพ คนส่วนใหญ่จะไม่ต้องการใช้เงินมากกว่า 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อมื้อ
"อาหารเช้าเพื่อสุขภาพไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานเกินไปในการทำ มีเมนูอาหารเช้ามากมายที่ทำได้แบบไม่ยุ่งยาก ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารมากขึ้น และยังเตรียมได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคมีพลังงานในการเริ่มต้นวันใหม่ไปพร้อมกันกับการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมในระยะยาวขึ้น" Conchie กล่าวเพิ่มเติม