Sugi หรือปลาช่อนทะเลไทย สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ของไทยที่น่าจับตามอง แต่การรับรู้ของผู้บริโภคในประเทศยังไม่สูง ซึ่งการทำการตลาดให้ผู้บริโภครับรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ปลาช่อนทะเลไทยมีโอกาสเติบโตขึ้นมาได้
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงร่วมมือกันจัดโครงการการแข่งขัน Sugi Business Case Challenge 2021 เพื่อเฟ้นหาแผนการตลาดและกลยุทธ์ ให้ผู้เข้าแข่งขันได้ระดมไอเดีย และระเบิดความคิด เพื่อสร้างสรรค์กลยุทธ์การตลาดแบบม้วนเดียวจบ ให้ปลาช่อนไทยเป็นที่รู้จักและขยายขีดจำกัด สร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้นอีกหนึ่งทาง มีนักศึกษาให้ความสนใจและเข้าร่วมการแข่งขันจากทั้งหมด 125 ทีม จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยทีมนักศึกษาได้รับรางวัล ได้แก่
รางวัลชนะเลิศ
ทีม Platubjai Advisory นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ และสิทธิการเข้าดูงานที่กระชังปลา จังหวัดภูเก็ต โดยคุณวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท. จำกัด เป็นผู้มอบรางวัล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
ทีม เห้ยปลาช่อน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ ได้รับเงินรางวัลจำนวน 15,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ โดยคุณวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท. จำกัด เป็นผู้มอบรางวัล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
ทีม Sugi masa นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ โดยคุณสุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนา การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง เป็นผู้มอบรางวัล
ทีม ปลาช่อนล่าฝัน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์
ทีม SUGIMOREFIRE นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์
รางวัลชมเชย 2 ทีม ได้แก่ ทีม ปลาช่อนล่าฝัน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ และ ทีม SUGIMOREFIRE นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ ได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ โดยศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. เป็นผู้มอบรางวัล