ยูโอบี จับมือ สหพันธ์ธุรกิจสิงคโปร์ ช่วยบริษัทสิงคโปร์เข้าถึงเศรษฐกิจมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ของอาเซียน พร้อมคว้าโอกาสที่เปิดกว้างในภูมิภาค

ยูโอบีได้รับเลือกเป็นพันธมิตรด้านการเงินในโครงการ GlobalConnect@SBF Strategic Partnerships

ธนาคารยูโอบี (UOB) ช่วยให้บริษัทจากสิงคโปร์เข้าถึงโอกาสทางธุรกิจข้ามพรมแดนในเศรษฐกิจมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ของอาเซียน[1] โดยทางธนาคารได้ ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับสหพันธ์ธุรกิจสิงคโปร์ (Singapore Business Federation: SBF) เพื่อเป็นพันธมิตรทางการเงินของโครงการ GlobalConnect@SBF Strategic Partnerships[2]

ความร่วมมือดังกล่าวเป็นการรวมจุดแข็งของธนาคารยูโอบีและ SBF ในการเชื่อมโยงธุรกิจของสิงคโปร์ ซึ่งรวมถึงสมาชิกของ SBF มากกว่า 27,000 ราย ให้ เข้าถึงโอกาสที่เปิดกว้างทั่วอาเซียน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม เนื่องจากภูมิภาคนี้นำเสนอข้อเสนอที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจที่กำลังมอง หาโอกาสในการเติบโต โดยคาดว่าอาเซียนจะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับสี่ของโลกภายในปี 2593[3] นอกจากนี้ คาดว่าข้อตกลงการค้าต่าง ๆ เช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน

นายวี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารยูโอบี กล่าวว่า "หลังจากยืนหยัดจนผ่านพ้นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาได้ บัดนี้ บริษัทต่าง ๆ เริ่มมองหาโอกาสที่จะเติบโตและขยายธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในโอกาสที่น่าสนใจที่สุดคืออาเซียน ซึ่งเป็น ภูมิภาคที่ยูโอบีมีการดำเนินงานแข็งแกร่งที่สุด และเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพมากมาย พวกเราที่ยูโอบีตระหนักมานาน แล้วถึงจุดแข็งในระยะยาว ตลอดจนเอกลักษณ์ในการมีภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจที่หลากหลายของอาเซียน เรามีหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ Foreign Direct Investment (FDI) Advisory Unit ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2554 และได้ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ขยายการดำเนินงานไปทั่วภูมิภาค แล้วมากกว่า 3,500 บริษัท บัดนี้ ด้วยความพยายามร่วมกันกับ SBF เราจะสามารถช่วยสร้างภาคธุรกิจที่มีพลวัตและเชื่อมโยงถึงกัน ซึ่งจะทำให้มีบริษัท
จำนวนมากขึ้นที่ประสบความสำเร็จและเติบโต"

นายดาเรียส ลิม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SBF กล่าวว่า "เครือข่ายที่กว้างขวางและการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธนาคารยูโอบีในอาเซียนจะช่วยเสริมโครงการ GlobalConnect@SBF ของเราให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจในสิงคโปร์ในการรุกเข้าสู่ภูมิภาค ทั้งนี้ ด้วยการสนับสนุนจากธนาคารที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ของสิงคโปร์ บริษัทต่าง ๆ จะสามารถดำเนินธุรกิจในตลาดแต่ละแห่งได้ดีขึ้น ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายในท้องถิ่น และเข้าถึงโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่มากขึ้น"

FDI Advisory Unit ของยูโอบีช่วยบริษัทต่าง ๆ ในการเข้าสู่ตลาด ด้วยการให้บริการข้อมูลตลาดในเชิงลึกและการเข้าถึงระบบนิเวศพันธมิตรของธนาคาร ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ สมาคมการค้าและธุรกิจระดับภูมิภาค ข้อมูลเชิงลึกและการเข้าถึงระบบนิเวศพันธมิตรดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบริษัท ที่หาทางขยายธุรกิจไปต่างประเทศ ซึ่งความคิดเห็นดังกล่าวนี้ได้รับการยืนยันในรายงานผลการศึกษาล่าสุดของยูโอบี โดยรายงาน UOB SME Outlook 2021 Study[4] เผยว่า การขาดความรู้เกี่ยวกับตลาดท้องถิ่น และความยากลำบากในการหาคู่ค้าที่เหมาะสม คืออุปสรรคสำคัญสองประการแรกที่บริษัทสิงคโปร์ต้องเผชิญเมื่อไปลงทุนในต่างประเทศ

บริษัทต่าง ๆ จะได้รับประโยชน์จากการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ของทั้งสององค์กร ผ่านทาง FDI Centre ของยูโอบี[5] ที่ตั้งอยู่ทั่วภูมิภาค และผ่านทาง Singapore Enterprise Centre ของ SBF นอกจากนี้ ยูโอบียังจะให้การสนับสนุนทางการเงินและช่วยเหลือธุรกิจบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล โดยเร่งผลักดันการนำเทคโนโลยีมาใช้ด้วยการให้บริการชุดโซลูชันดิจิทัลอย่างครอบคลุม

นอกจากนี้ ทั้งสององค์กรจะแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรกับบริษัทสิงคโปร์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การสัมมนาออนไลน์ที่ให้บริการฟรีสำหรับสมาชิก SBF เพื่อช่วยให้บริษัทสิงคโปร์ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายของอาเซียน และเพื่อค้นพบโอกาสทางธุรกิจ

บริษัทหนึ่งที่ธนาคารยูโอบีให้การสนับสนุนในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศคือ Dou Yee Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านการผลิตที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ และทำธุรกิจใน 26 ตลาด เช่น จีน ฮ่องกง มาเลเซีย และเวียดนาม Dou Yee อาศัยความรู้เชิงลึกของยูโอบีเกี่ยวกับตลาดท้องถิ่น รวมทั้งใช้โซลูชันทางการเงินของยูโอบีที่สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของบริษัทเพื่อขยายการผลิตในประเทศเวียดนาม โดยยูโอบีจะยังคงให้การสนับสนุน Dou Yee ต่อไป ด้วยการเชื่อมโยงบริษัทเข้ากับผู้ซื้อ ซัพพลายเออร์ และผู้จัดจำหน่ายที่มีศักยภาพตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจนเชื่อมโยงบริษัทกับโอกาสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนความยั่งยืนของอาเซียน

ยูโอบีช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เข้าใจว่าบริษัทสามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับประโยชน์จากการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการที่ธนาคารนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งรวมถึงการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนผ่านกรอบแนวคิดด้านต่าง ๆ เช่น กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อเมืองอัจฉริยะของยูโอบี (UOB Smart City Sustainable Finance Framework)[6], กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ ยูโอบี (UOB Real Estate Sustainable Finance Framework)[7] และกรอบแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียวของยูโอบี (UOB Green Circular Economy Framework)[8] กรอบแนวคิดเหล่านี้ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถขอสินเชื่อที่เกี่ยวโยงกับความยั่งยืนหรือสินเชื่อสีเขียวเพื่อพัฒนาธุรกิจของตนอย่างมีความรับผิดชอบ